Module Code: hero
Module Code: content-block
Module Code: content-paragraph

การจับสัดเป็นกระบวนการที่ใช้แยกแยะแม่สุกรที่มีการตกไข่และพร้อมรับการผสมพันธุ์กับพ่อสุกร
การผลิตสุกรในปัจจุบันได้เปลี่ยนการผสมพันธุ์โดยพ่อสุกรเป็นการผสมเทียมโดยเกษตรกรซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
ผลผลิตที่ดีของฟาร์มจึงเกิดจากการจับสัดที่แม่นยำและการผสมเทียมได้ถูกต้อง

Module Code: content-block
Module Code: content-title

ขั้นตอนการจับสัด

Module Code: content-image-block

บทบาทของพ่อสุกร

พ่อสุกรมีส่วนช่วยเกษตรกรในการผสมเทียม โดยพ่อสุกรจะช่วยกระตุ้นให้แม่สุกรแสดงอาการเป็นสัด ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผสมเทียมได้ในช่วงเวลาที่แม่นยำ

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ:

  • พ่อสุกรที่สมบูรณ์พันธุ์
  • พ่อสุกรสามารถผลิตน้ำลายที่มีฟีโรโมนจำนวนมากสำหรับกระตุ้นแม่สุกร
  • มีการสัมผัสแบบจมูกชนจมูกระหว่างพ่อสุกรและแม่สุกรนานเพียงพอ
Module Code: content-image-block
imagem-de-fêmea-demontrando-sinais

อาการของแม่สุกรที่เป็นสัด

อาการที่เด่นชัดที่สุดของแม่สุกรที่เป็นสัดได้แก่การตอบสนองต่อน้ำหนักกดหลัง (back pressure test) โดยการยืนนิ่ง “standing reflex” แม่สุกรจะยืนเกร็ง หลังโก่งเล็กน้อย พร้อมรับการขึ้นขี่หลังของพ่อสุกร หากมีการใช้พ่อสุกรร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงการเป็นสัด หากไม่มีพ่อสุกร แม่สุกรจะแสดงอาการเหล่านี้ไม่ชัดเจนหรือแสดงอาการช่วงสั้นๆ ทำให้การตัดสินใจในการผสมเทียมทำได้ยากขึ้น

Module Code: content-image-block

ศิลปะในการจับสัด

นอกจากการตอบสนองต่อน้ำหนักกดหลังแล้ว ในช่วงการเป็นสัดแม่สุกรยังแสดงอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่

  • หูตั้ง
  • ส่งเสียงร้องยาวๆ (grunts sound)
  • ยกหาง
  • กินอาหารลดลง
  • มีเมือกที่ปากช่องคลอด

อาการเหล่านี้อาจไม่ได้แสดงให้เห็นครบในแม่สุกรตัวเดียว แม่สุกรแต่ละตัวก็จะมีการแสดงออกที่ต่างกัน ดังนั้นจึงเป็น ศิลปะของเกษตรกร ที่จะสามารถระบุช่วงเวลาการเป็นสัดของแม่สุกรได้แม่นยำ

Module Code: content-block-lr

คลิก เพื่อดาวน์โหลดเสียงพ่อสุกร


DOWNLOAD TO SUPPORT YOU DURING BOARBETTER APPLICATION (30 minutes)

Module Code: content-block
Module Code: content-title

ความสำคัญของการจับสัด

Module Code: content-image-block

การจับสัดที่แม่นยำ ช่วยกำหนดเวลาผสมเทียมได้เหมาะสม

  • สุกรสาวหรือแม่สุกรที่เป็นสัดช้าหลังหย่านม มักแสดงอาการเป็นสัดช่วงสั้นๆ อาจทำให้การจับสัดผิดพลาด ส่งผลให้การผสมเทียมล่าช้าหรือกระทบต่อการผสมติดได้
  • แม่สุกรที่แสดงอาการเป็นสัดยาว ช่วยให้กำหนดช่วงเวลาที่จะผสมเทียมได้แม่นยำ ส่งผลดีต่อการผสมติด การปฏิสนธิ ซึ่งนำมาซึ่งจำนวนลูกที่ดกขึ้น

การรู้ระยะเวลาสิ้นสุดการเป็นสัดก็สำคัญเช่นกัน เนื่องจากการผสมเทียมหลังจากตกไข่ไปแล้ว มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ และลูกไม่ดก การจับสัดที่แม่นยำช่วยให้ผสมเทียมได้มากกว่า 1 ครั้ง/การเป็นสัด

Module Code: cta-content-image-block

ความสำคัญของกลิ่น

พ่อสุกรที่สมบูรณ์พันธุ์จะปล่อยฟีโรโมน 3 ชนิดออกมาในน้ำลาย ซึ่งจะถูกส่งไปยังแม่สุกรผ่านการสัมผัส ฟีโรโมนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้แม่สุกรแสดงอาการเป็นสัด

ทำความรู้จักกับกลิ่นของพ่อสุกรมากขึ้นในหน้าถัดไป

Module Code: content-block
Module Code: content-paragraph

REFERENCES: 1. Hemsworth et al. 1988. Habituation to boar stimuli: possible mechanism responsible for the reduced detection rate of estrus gilts housed adjacent to boars. Appl. Anim. Beha. Sci. 19:255-64. 2. Soede NM, Wetzels CC, Zondag W, de Koning MA, Kemp B. Effects of time of insemination relative to ovulation, as determined by ultrasonography, on fertilization rate and accessory sperm count in sows. J Reprod Fertil. 1995 May;104(1):99-106. and Steverink DW, Soede NM, Bouwman EG, Kemp B. Influence of insemination-ovulation interval and sperm cell dose on fertilization in sows. J Reprod Fertil. 1997 Nov;111(2):165-71. 3. Terqui M., Guillouet P., Maurel M‐C., Martinat‐Botté F., 2000. Relationship between peri‐œstrus progesterone levels and time of ovulation by echography in pigs and influence of the interval between ovulation and artificial insémination on litter size. Reprod. Nutr. Develop., 40, 393‐404. 4. Rozeboom KJ, Troedsson MH, Shurson GC, Hawton JD, Crabo BG. Late estrus or metestrus insemination after estrual inseminations decreases farrowing rate and litter size in swine. J Anim Sci. 1997 Sep;75(9):2323-7. 5. Memento de l’éleveur de Porc, 2013. 6. Signoret & du Mesnil du Buisson. 1961. Etude du comportement de la truie en oestrus. IVth Congr. int. Reprod. Anim., La Haye, 171-5.

Module Code: repeater

your browser is too old, please use Firefox, Edge or Chrome Download.